วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

ประวัติ ASEAN

ประวัติความเป็นมา
ASEAN
          อาเซียน(ASEAN) ย่อมาจาก Association of SouthEast Asian Nations หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นองค์กรระดับภูมิภาค ก่อตั้งขึ้นโดย 5 ประเทศ คือ   อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย โดยร่วมกันจัดทำปฏิญญาอาเซียน ชื่อว่า ปฏิญญากรุงเทพฯ ลงนามที่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510


ปัจจุบันสมาชิกอาเซียนมี 10 ประเทศ มีเป้าหมายว่าจะเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน
               8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 : ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ร่วมก่อตั้งอาเซียน
               7 มกราคม พ.ศ 2527        :    บรูไนเข้าร่วมเป็นสมาชิก
               28 กรกฎาคม พ.ศ 2538    :    เวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิก
               23 กรกฎาคม พ.ศ 2540    :    ลาวและเมียนมาร์(พม่า) เข้าร่วมเป็นสมาชิก
               9 เมษายน พ.ศ 2542         :    กัมพูชา เข้าร่วมเป็นสมาชิก


รู้จักกับ อาเซียน+3 และ อาเซียน+6

               อาเซียน+3 และ อาเซียน+6 : ความร่วมมืออย่างเป็นทางการในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกลุ่มอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ทำให้กลุ่มประเทศอาเซียนมีตลาดใหญ่ขึ้นตามลำดับโดย +3 คือ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และ +6 คือ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย
               กรอบปฏิบัติอาเซียน เรียกว่า กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เริ่มใช้เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นเอกสารมีรายละเอียดระบุโครงสร้างองค์กรและหลักปฏิบัติร่วมกันเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมทั้งเรื่องการสร้างประชาคมอาเซียน
               ประชาคมอาเซียน จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ประเทศสมาชิกมีความอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความพร้อมในทุกด้าน มีความสามารถในการแข่งขันสูง โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ผู้นำอาเซียนตกลงกันว่าจะสร้างประชาคมให้สำเร็จในปี พ.ศ. 2558 ประกอบด้วย
- ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC : ASEAN Political and Security Community)
- ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC : ASEAN Economic Community)
- ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASCC : ASEAN Socio-Cultural Community)



             ดวงตราอาเซียน เป็น สัญลักษณ์เพื่อแสดงถึงความเป็นอาเซียน โดยมีลักษณะเป็นรูปรวงข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ บนพื้นหลังสีแดงอยู่ในวงกลมเส้นสีขาวและเส้นสีน้ำเงินซึ่งหมายถึง ประเทศสมาชิกรวมตัวกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นหนึ่งเดียวกัน พื้นที่วงกลม สีแดง สีขาว และน้ำเงิน ซึ่งแสดง ถึงความเป็นเอกภาพ มีตัวอักษรคำว่า “asean” สีน้ำเงิน อยู่ใต้ภาพรวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งสีที่ใช้ก็ให้ความหมายในลักษณะดังกล่าว
                  - สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
                  - สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า
                  - สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
                  - สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

               อาเซียน รวมตัวกันเพื่อ ความร่วมมือกันทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม และได้มีการพัฒนาการเรื่อยมา จนถึงขณะนี้ที่เรามีกฎบัตรอาเซียน (ธรรมนูญ อาเซียน หรือ ASEAN Charter) ซึ่งเป็นเสมือนแนวทางการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนซึ่ง ประกอบด้วย 3 สิ่งหลักๆ คือ  การเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ (AEC) สังคมและวัฒนธรรม


ข้อมูลที่น่าสนใจ ASEAN

วันก่อตั้ง : 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
วันอาเซียน : 8 สิงหาคม
ที่ตั้งสำนักงานเลขาธิการอาเซียน : กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย
คำขวัญ : One Vision, One Identity, One Community (หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งอัตลักษณ์, หนึ่งประชาคม)
ประธานอาเซียน : เมียนมาร์ (2557)
เลขาธิการอาเซียน : นายเล เลือง มิญ (Le Luong Minh) จากเวียดนาม (2556 -2560)
พื้นที่ในอาเซียน : 4,464,322 ตร.กม.
ประชากรอาเซียน : 600.18 ล้านคน
เพลงประจำอาเซียน : The ASEAN Way
ภาษากลาง : อังกฤษ
รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชาชนอาเซียน : 3870 ดอลลาห์สหรัฐฯ ต่อคนต่อปี
ประเทศคู่เจรจา : จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย แคนาดา และ 1 กลุ่ม คือ สหภาพยุโรป
ทรัพยากรธรรมชาติ : น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้
สินค้าส่งออกสำคัญ : น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ อิเล็กทรอนิกส์
ตลาดส่งออกสำคัญ : ญี่ปุ่น จีน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา
สินค้านำเข้าสำคัญ : น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ อิเล็กทรอนิกส์
ตลาดนำเข้าสำคัญ : สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น จีน


ที่มา : http://www.thai-aec.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-10-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น